ดร. ยศินทร์ กิติจันทโรภาส นักวิชาการ สสวท. ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่พัฒนาเนื้อหาและเครื่องมือในการสอน และผู้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้บอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ใน สสวท.
Deschooling Game ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ จึงอยากชวนให้เห็นถึงแนวคิดที่น่าสนใจในการใช้บอร์ดเกมเพื่อสร้างการเรียนรู้ และ ความสำคัญที่หน่วยงานหรือองค์กรการศึกษาจะหันมาใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์จากกระดาษ…สู่เกมกระดาน – ดร. ยศินทร์
ข้อแตกต่างระหว่างเกมกระดานกับหนังสือคือ
หนังสือส่งผ่านเนื้อหาให้กับผู้อ่านได้ แต่เกมกระดานมอบประสบการณ์ให้กับผู้เล่น ให้ผิดลองถูกในเกมได้ ได้ทดสอบความสามารถ-ความคิด-ความเชื่อของผู้เล่น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการสร้างความตระหนัก
จุดเด่นของเกมกระดานคือ
- เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างครูและนักเรียน เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ให้เป็นมิตรมากขึ้น
- การทวนเป็นเรื่องสำคัญในการเรียน เกมสามารถ ให้ความสนุก ความท้าทาย มาทำให้ผู้เรียนอยากเล่นซ้ำ ทบทวนและปรับปรุงวิธีคิดเพื่อให้ตนเองทำได้ดีขึ้น
- การเล่นเกมหนึ่งเกม ต้องใช้หลายทักษะร่วมกัน รวมถึงความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาบูรณาการ มาประกอบกันโดยไม่สามารถแยกส่วนได้
ในการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ ไม่ควรสื่อสารเนื้อหาการเรียนรู้ผ่านเรื่องราวหรือตัวหนังสือในตัวเกมเพียงเท่านั้น ควรให้กลไกของเกมแสดงออกถึงเนื้อหาการเรียนรู้ด้วย
เพราะฉะนั้นจึงควรหมั่นสังเกตความประทับใจต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีองค์ประกอบหรือกลไกแบบไหนบ้าง เพื่อเวลาเริ่มออกแบบเกมกระดาน จะสามารถเลือกกลไกที่เหมาะสมกับเนื้อหาการเรียนรู้ได้
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมุมมองและข้อควรระวัง ของการใช้เกมเพื่อการศึกษาในวงกว้าง ที่ไม่ได้จบแค่ในชั้นเรียนใดชั้นเรียนหนึ่ง ตามบทบาทหน้าที่ของ สสวท. ในยุคปัจจุบัน
สนใจการพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้มากกว่านี้
ติดตามได้ทางเพจของพวกเราครับ
https://web.facebook.com/deschooling.game/